1. สมดุลต่อการเลื่อนตำแหน่ง
1. สมดุลสถิต (Static Equilibrium) เป็นสมดุลของวัตถุหรือสิ่งก่อสร้างที่หยุดนิ่ง เช่น
หนังสือวางอยู่บนโต๊ะ บันไดพิงกำแพง
2. สมดุลจลน์ (Dynamic Equilibrium) เป็นสมดุลของวัตถุที่เคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ เช่น
รถยนต์เคลื่อนที่อัตราเร็วคงที่ นอกจากนี้ยังรวมถึงวัตถุที่เคลื่อนที่อัตราเร็วคงที่โดยไม่เปลี่ยน
สภาพการหมุน (หมุนด้วยอัตราเร็วคงที่) เช่น รอก กว้าน ล้อและเพลา
วัตถุที่สมดุลสถิตย์ หรือสมดุลจลน์ เราเรียกสมดุลนี้ว่าสมดุลต่อการเลื่อนตำแหน่ง เช่น หยุดนิ่งก็จะหยุดนิ่งตลอดไป หรือเคลื่อนที่ ก็จะเคลื่อนที่ตลอดไป
” วัตถุที่ถูกแรงลัพธ์ที่กระทำเป็นศูนย์ วัตถุรักษาสภาพการเคลื่อนที่เดิม " เรียกว่าสมดุลกล หรือ สมดุล
ตัวอย่าง เช่น
Ex1. เมื่อใช้เครื่องชั่งสปริงเกี่ยวถุงทรายแล้วหยุดนิ่ง วัตถุสมดุล (สมดุลย์สถิต)
แรงที่ลัพธ์ที่กระทำต่อถุงทรายเท่ากับศูนย์
แรงที่กระทำต่อวัตถุ คือ น้ำหนัก (mg) และ แรงตึงเชือก (T)
Ex2. เมื่อใช้เครื่องชั่งสปริงเกี่ยวถุงทรายแล้วดึงให้วัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่
วัตถุสมดุล (สมดุลจลน์) แรงที่ลัพธ์ที่กระทำต่อถุงทรายเท่ากับศูนย์
แรงที่กระทำต่อวัตถุ คือ น้ำหนัก (mg) และ แรงตึงเชือก (T)
แรงตึงเชือก = น้ำหนัก
Ex3. เมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุในแนวระดับแล้ววัตถุไม่เคลื่อนที่แสดงว่า วัตถุสมดุล (สมดุลย์สถิต)
แรงที่ลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุเท่ากับศูนย์
แรงที่กระทำต่อวัตถุ คือ แรงกระทำ (F) และ แรงเสียดทาน (f)
แรงกระทำ (F) = แรงเสียดทาน (f)